กรณีศึกษา : ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดบ้านพักทหาร
กระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา มักทำการเซ็นสัญญาระยะยาวในการเช่าซื้อหรือสร้างอาคารบ้านพักในบริเวณที่ใกล้ๆ กับฐานทัพต่างๆ ซึ่งการตัดสินใจว่าจะสร้างบ้านพักที่ไหน สร้างเมื่อใด อย่างไร มีรูปแบบใด เป็นเรื่องที่ซับซ้อนมาก และจะต้องทำการวิเคราะห์ตลาดอาคารบ้านพักเป็นส่วนๆ ด้วย โดยการวิเคราะห์นี้เรียกว่า Segmented Housing Market Analysis หรือ SHMA ที่จะต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการจัดทำถึงห้าหมื่นเหรียญ และมีวัตถุเดียวคือ ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ การวิเคราะห์โดย SHMA จะต้องตรงตามงบประมาณที่มีอยู่และจะต้องสอดคล้องกับข้อกำหนดขององค์การที่ทำหน้าที่ตรวจสอบที่มีอยู่หลายแห่งด้วยกัน นอกจากนั้นการวิเคราะห์ยังต้องพิจารณาสภาพเศรษฐกิจรอบๆของฐานทัพและตลาดอาคารบ้านพักที่มีอยู่ในขณะนั้นด้วย เช่น จะต้องพิจารณาว่ามีบ้านพักให้กองทัพเช่าได้เพียงใด ปัญหานี้จะมีความซับซ้อนมากขึ้นเพราะในกองทัพมียศอยู่ถึง 20 ขั้น นายทหารยิ่งมียศสูงมากขึ้นเท่าใดก็จำเป็นที่จะต้องมีอาคารบ้านพักที่ดีมากขึ้นเท่านั้น อาคารบ้านพักมีอยู่หกขนาดคือจากขนาดห้องเดียว ไปจนถึงขนาดบ้านพักที่มีห้าห้องนอนขนาดของครอบครัวก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ต้องนำมาพิจารณา การวิเคราะห์ SHMA นั้นใช้แบบจำลองเชิงปริมาณหลายรูปแบบ รวมทั้งแบบจำลองทางเศรษฐกิจมิติด้วย ดังนั้นการวิเคราะห์คำนวณสำหรับฐานทัพ 200 แห่ง ต้องใช้เวลานานและยังเกิดความผิดพลาดได้ง่ายโดยเฉพาะหากทำการคำนวณด้วยมือ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจึงได้รับการพัฒนาขึ้นมาโดยสมารถโต้ตอบกับโมเดลระบบวางแผนทางการเงิน (Financial Planning System (IFPS) Modeling Language) แผนผังของระบบ DSS แสดงในรูป 7.12 โดยส่วนประกอบของระบบที่อยู่ทางด้านซ้ายของรูป จะมีสองส่วนที่สำคัญคือ ฐานข้อมูล (Database) และฐานแบบจำลอง( Model Base)
1) ฐานข้อมูล (Database) ประกอบด้วย
§ Off-post Data : ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะสภาพเศรษฐกิจรอบๆ ของฐานทัพ
§ On-post Data : ข้อมูลเกี่ยวกับการหาบ้านพักของนายทหารโดยแหล่งข้อมูลภายในกระทรวงกลาโหมและรายงานต่างๆ สำหรับแหล่งข้อมูลภายนอกมาจากรายงานสถิติ หอการค้า หรือจากฐานข้อมูลออนไลน์ (Online Database)เป็นต้น
2) ฐานแบบจำลอง( Model Base) มีอยู่ 2 ส่วน คือ
§ Regional Economic Model (RECOM) for the Area : เป็นโมเดลที่มีตัวแปรและข้อจำกัดต่างๆเกี่ยวข้องจำนวนมาก เช่น ราคาบ้าน ดัชนีผู้บริโภค รายได้ต่อคน และเงินช่วยเหลือหรือเงินสวัสดิการของทหาร ฯลฯ
§ Modified Segmented Housing Market Analysis (MSHMA) : เป็นโมเดลที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรหลายตัวแปรและข้อมูลที่ใช้มาจาก On-post และ Off-post Data เช่น ส่วนแบ่งตลาดบ้านพัก จำนวนบ้านพักใกล้ฐานทัพที่มีให้กองทัพเช่า ภาษีที่ต้องจ่าย รายได้ต่อครัวเรือน รวมถึงประชากรทั้งหมด ฯลฯ
คำถาม
(1) การตัดสินใจซื้อหรือสร้างบ้านของบุคคลโดยทั่วไปสามารถทำได้โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ท่านคิดว่าการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดบ้านพักทหารว่าจะสร้างบ้านพักที่ไหน เมื่อไร และมีรูปแบบอย่างไร มีความจำเป็นต้องอาศัยระบบสนับสนุนการตัดสินใจหรือไม่ เพราะเหตุใดตอบ 1. จำเป็นต้องอาศัยระบบ DSS มาช่วยในการตัดสินใจด้วย เพราะว่า การที่จะสร้างบ้านพักทหาร เป็นการซับซ้อนมากหรืออาจเกิดความผิดพลาดก็ได้ ถ้าไม่มีระบบช่วยในการตัดสินใจ แต่การที่ใช้ระบบช่วยในการตัดสินใจนั้นสร้างทางเลือกได้หลายๆ ทางเลือก และถ้าตัดสินใจไปแล้วเกิดการผิดพลาดหรือไม่บรรลุตามเป้าหมายก็ยังสามารถมาทำการตัดสินใจได้โดยขั้นตอนการตัดสินใจอีกจนกว่าจะสำเร็จ 2. ใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบจำลองของระบบ GDSS ซึ่งเป็นระบบที่สามารถสร้างทางเลือกในการตัดสินใจโดยที่ สร้างแบบจำลองบ้านพักทหารตามที่ต้องการ แล้วนำมาทำการวิเคราะห์หรือประชุมหาข้อสรุป ทำการตัดสินใจ(2) องค์ประกอบหลักของระบบสนับสนุนการตัดสินใจเกี่ยวกับบ้านพักทหารมีอะไรบ้างตอบ ฐานข้อมูล Databasc ประกอบด้วยข้อมูลที่สำคัญ 2 ส่วน- Off-Post Data ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะสภาพเศรษฐกิจรอบๆ- On-post Data แหล่งข้อมูลภายในและภายนอกของบ้านพักทหารและฐานทัพ2.2 ฐานแบบจำลอง Model Basc ประกอบด้วยข้อมูลที่สำคัญ 2 ส่วน- Regional Economic Model For the Area เป็นโมเดลที่มีตัวแปรและข้อจำกัดต่างๆเกี่ยวข้องจำนวนมาก เช่น ราคาบ้าน ดัชนีผู้บริโภค รายได้ต่อคน และเงินช่วยเหลือหรือเงินสวัสดิการของทหาร
- Mocificd Schment Housing Market Analysis เป็นโมเดลที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรหลายตัวแปรและข้อมูลที่ใช้มาจาก On-post และ Off-post Data เช่น ส่วนแบ่งตลาดบ้านพัก จำนวนบ้านพักใกล้ฐานทัพที่มีให้กองทัพเช่า ภาษีที่ต้องจ่าย รายได้ต่อครัวเรือน รวมถึงประชากรทั้งหมด
วันพฤหัสบดีที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดบ้านพักทหาร
กรณีศึกษา : ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดบ้านพักทหาร
กระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา มักทำการเซ็นสัญญาระยะยาวในการเช่าซื้อหรือสร้างอาคารบ้านพักในบริเวณที่ใกล้ๆ กับฐานทัพต่างๆ ซึ่งการตัดสินใจว่าจะสร้างบ้านพักที่ไหน สร้างเมื่อใด อย่างไร มีรูปแบบใด เป็นเรื่องที่ซับซ้อนมาก และจะต้องทำการวิเคราะห์ตลาดอาคารบ้านพักเป็นส่วนๆ ด้วย โดยการวิเคราะห์นี้เรียกว่า Segmented Housing Market Analysis หรือ SHMA ที่จะต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการจัดทำถึงห้าหมื่นเหรียญ และมีวัตถุเดียวคือ ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ การวิเคราะห์โดย SHMA จะต้องตรงตามงบประมาณที่มีอยู่และจะต้องสอดคล้องกับข้อกำหนดขององค์การที่ทำหน้าที่ตรวจสอบที่มีอยู่หลายแห่งด้วยกัน นอกจากนั้นการวิเคราะห์ยังต้องพิจารณาสภาพเศรษฐกิจรอบๆของฐานทัพและตลาดอาคารบ้านพักที่มีอยู่ในขณะนั้นด้วย เช่น จะต้องพิจารณาว่ามีบ้านพักให้กองทัพเช่าได้เพียงใด ปัญหานี้จะมีความซับซ้อนมากขึ้นเพราะในกองทัพมียศอยู่ถึง 20 ขั้น นายทหารยิ่งมียศสูงมากขึ้นเท่าใดก็จำเป็นที่จะต้องมีอาคารบ้านพักที่ดีมากขึ้นเท่านั้น อาคารบ้านพักมีอยู่หกขนาดคือจากขนาดห้องเดียว ไปจนถึงขนาดบ้านพักที่มีห้าห้องนอนขนาดของครอบครัวก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ต้องนำมาพิจารณา การวิเคราะห์ SHMA นั้นใช้แบบจำลองเชิงปริมาณหลายรูปแบบ รวมทั้งแบบจำลองทางเศรษฐกิจมิติด้วย ดังนั้นการวิเคราะห์คำนวณสำหรับฐานทัพ 200 แห่ง ต้องใช้เวลานานและยังเกิดความผิดพลาดได้ง่ายโดยเฉพาะหากทำการคำนวณด้วยมือ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจึงได้รับการพัฒนาขึ้นมาโดยสมารถโต้ตอบกับโมเดลระบบวางแผนทางการเงิน (Financial Planning System (IFPS) Modeling Language) แผนผังของระบบ DSS แสดงในรูป 7.12 โดยส่วนประกอบของระบบที่อยู่ทางด้านซ้ายของรูป จะมีสองส่วนที่สำคัญคือ ฐานข้อมูล (Database) และฐานแบบจำลอง( Model Base)
1) ฐานข้อมูล (Database) ประกอบด้วย
§ Off-post Data : ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะสภาพเศรษฐกิจรอบๆ ของฐานทัพ
§ On-post Data : ข้อมูลเกี่ยวกับการหาบ้านพักของนายทหารโดยแหล่งข้อมูลภายในกระทรวงกลาโหมและรายงานต่างๆ สำหรับแหล่งข้อมูลภายนอกมาจากรายงานสถิติ หอการค้า หรือจากฐานข้อมูลออนไลน์ (Online Database)เป็นต้น
2) ฐานแบบจำลอง( Model Base) มีอยู่ 2 ส่วน คือ
§ Regional Economic Model (RECOM) for the Area : เป็นโมเดลที่มีตัวแปรและข้อจำกัดต่างๆเกี่ยวข้องจำนวนมาก เช่น ราคาบ้าน ดัชนีผู้บริโภค รายได้ต่อคน และเงินช่วยเหลือหรือเงินสวัสดิการของทหาร ฯลฯ
§ Modified Segmented Housing Market Analysis (MSHMA) : เป็นโมเดลที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรหลายตัวแปรและข้อมูลที่ใช้มาจาก On-post และ Off-post Data เช่น ส่วนแบ่งตลาดบ้านพัก จำนวนบ้านพักใกล้ฐานทัพที่มีให้กองทัพเช่า ภาษีที่ต้องจ่าย รายได้ต่อครัวเรือน รวมถึงประชากรทั้งหมด ฯลฯ
คำถาม
(1) การตัดสินใจซื้อหรือสร้างบ้านของบุคคลโดยทั่วไปสามารถทำได้โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ท่านคิดว่าการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดบ้านพักทหารว่าจะสร้างบ้านพักที่ไหน เมื่อไร และมีรูปแบบอย่างไร มีความจำเป็นต้องอาศัยระบบสนับสนุนการตัดสินใจหรือไม่ เพราะเหตุใดตอบ 1. จำเป็นต้องอาศัยระบบ DSS มาช่วยในการตัดสินใจด้วย เพราะว่า การที่จะสร้างบ้านพักทหาร เป็นการซับซ้อนมากหรืออาจเกิดความผิดพลาดก็ได้ ถ้าไม่มีระบบช่วยในการตัดสินใจ แต่การที่ใช้ระบบช่วยในการตัดสินใจนั้นสร้างทางเลือกได้หลายๆ ทางเลือก และถ้าตัดสินใจไปแล้วเกิดการผิดพลาดหรือไม่บรรลุตามเป้าหมายก็ยังสามารถมาทำการตัดสินใจได้โดยขั้นตอนการตัดสินใจอีกจนกว่าจะสำเร็จ 2. ใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบจำลองของระบบ GDSS ซึ่งเป็นระบบที่สามารถสร้างทางเลือกในการตัดสินใจโดยที่ สร้างแบบจำลองบ้านพักทหารตามที่ต้องการ แล้วนำมาทำการวิเคราะห์หรือประชุมหาข้อสรุป ทำการตัดสินใจ(2) องค์ประกอบหลักของระบบสนับสนุนการตัดสินใจเกี่ยวกับบ้านพักทหารมีอะไรบ้างตอบ ฐานข้อมูล Databasc ประกอบด้วยข้อมูลที่สำคัญ 2 ส่วน- Off-Post Data ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะสภาพเศรษฐกิจรอบๆ- On-post Data แหล่งข้อมูลภายในและภายนอกของบ้านพักทหารและฐานทัพ2.2 ฐานแบบจำลอง Model Basc ประกอบด้วยข้อมูลที่สำคัญ 2 ส่วน- Regional Economic Model For the Area เป็นโมเดลที่มีตัวแปรและข้อจำกัดต่างๆเกี่ยวข้องจำนวนมาก เช่น ราคาบ้าน ดัชนีผู้บริโภค รายได้ต่อคน และเงินช่วยเหลือหรือเงินสวัสดิการของทหาร
- Mocificd Schment Housing Market Analysis เป็นโมเดลที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรหลายตัวแปรและข้อมูลที่ใช้มาจาก On-post และ Off-post Data เช่น ส่วนแบ่งตลาดบ้านพัก จำนวนบ้านพักใกล้ฐานทัพที่มีให้กองทัพเช่า ภาษีที่ต้องจ่าย รายได้ต่อครัวเรือน รวมถึงประชากรทั้งหมด
กระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา มักทำการเซ็นสัญญาระยะยาวในการเช่าซื้อหรือสร้างอาคารบ้านพักในบริเวณที่ใกล้ๆ กับฐานทัพต่างๆ ซึ่งการตัดสินใจว่าจะสร้างบ้านพักที่ไหน สร้างเมื่อใด อย่างไร มีรูปแบบใด เป็นเรื่องที่ซับซ้อนมาก และจะต้องทำการวิเคราะห์ตลาดอาคารบ้านพักเป็นส่วนๆ ด้วย โดยการวิเคราะห์นี้เรียกว่า Segmented Housing Market Analysis หรือ SHMA ที่จะต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการจัดทำถึงห้าหมื่นเหรียญ และมีวัตถุเดียวคือ ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ การวิเคราะห์โดย SHMA จะต้องตรงตามงบประมาณที่มีอยู่และจะต้องสอดคล้องกับข้อกำหนดขององค์การที่ทำหน้าที่ตรวจสอบที่มีอยู่หลายแห่งด้วยกัน นอกจากนั้นการวิเคราะห์ยังต้องพิจารณาสภาพเศรษฐกิจรอบๆของฐานทัพและตลาดอาคารบ้านพักที่มีอยู่ในขณะนั้นด้วย เช่น จะต้องพิจารณาว่ามีบ้านพักให้กองทัพเช่าได้เพียงใด ปัญหานี้จะมีความซับซ้อนมากขึ้นเพราะในกองทัพมียศอยู่ถึง 20 ขั้น นายทหารยิ่งมียศสูงมากขึ้นเท่าใดก็จำเป็นที่จะต้องมีอาคารบ้านพักที่ดีมากขึ้นเท่านั้น อาคารบ้านพักมีอยู่หกขนาดคือจากขนาดห้องเดียว ไปจนถึงขนาดบ้านพักที่มีห้าห้องนอนขนาดของครอบครัวก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ต้องนำมาพิจารณา การวิเคราะห์ SHMA นั้นใช้แบบจำลองเชิงปริมาณหลายรูปแบบ รวมทั้งแบบจำลองทางเศรษฐกิจมิติด้วย ดังนั้นการวิเคราะห์คำนวณสำหรับฐานทัพ 200 แห่ง ต้องใช้เวลานานและยังเกิดความผิดพลาดได้ง่ายโดยเฉพาะหากทำการคำนวณด้วยมือ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจึงได้รับการพัฒนาขึ้นมาโดยสมารถโต้ตอบกับโมเดลระบบวางแผนทางการเงิน (Financial Planning System (IFPS) Modeling Language) แผนผังของระบบ DSS แสดงในรูป 7.12 โดยส่วนประกอบของระบบที่อยู่ทางด้านซ้ายของรูป จะมีสองส่วนที่สำคัญคือ ฐานข้อมูล (Database) และฐานแบบจำลอง( Model Base)
1) ฐานข้อมูล (Database) ประกอบด้วย
§ Off-post Data : ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะสภาพเศรษฐกิจรอบๆ ของฐานทัพ
§ On-post Data : ข้อมูลเกี่ยวกับการหาบ้านพักของนายทหารโดยแหล่งข้อมูลภายในกระทรวงกลาโหมและรายงานต่างๆ สำหรับแหล่งข้อมูลภายนอกมาจากรายงานสถิติ หอการค้า หรือจากฐานข้อมูลออนไลน์ (Online Database)เป็นต้น
2) ฐานแบบจำลอง( Model Base) มีอยู่ 2 ส่วน คือ
§ Regional Economic Model (RECOM) for the Area : เป็นโมเดลที่มีตัวแปรและข้อจำกัดต่างๆเกี่ยวข้องจำนวนมาก เช่น ราคาบ้าน ดัชนีผู้บริโภค รายได้ต่อคน และเงินช่วยเหลือหรือเงินสวัสดิการของทหาร ฯลฯ
§ Modified Segmented Housing Market Analysis (MSHMA) : เป็นโมเดลที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรหลายตัวแปรและข้อมูลที่ใช้มาจาก On-post และ Off-post Data เช่น ส่วนแบ่งตลาดบ้านพัก จำนวนบ้านพักใกล้ฐานทัพที่มีให้กองทัพเช่า ภาษีที่ต้องจ่าย รายได้ต่อครัวเรือน รวมถึงประชากรทั้งหมด ฯลฯ
คำถาม
(1) การตัดสินใจซื้อหรือสร้างบ้านของบุคคลโดยทั่วไปสามารถทำได้โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ท่านคิดว่าการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดบ้านพักทหารว่าจะสร้างบ้านพักที่ไหน เมื่อไร และมีรูปแบบอย่างไร มีความจำเป็นต้องอาศัยระบบสนับสนุนการตัดสินใจหรือไม่ เพราะเหตุใดตอบ 1. จำเป็นต้องอาศัยระบบ DSS มาช่วยในการตัดสินใจด้วย เพราะว่า การที่จะสร้างบ้านพักทหาร เป็นการซับซ้อนมากหรืออาจเกิดความผิดพลาดก็ได้ ถ้าไม่มีระบบช่วยในการตัดสินใจ แต่การที่ใช้ระบบช่วยในการตัดสินใจนั้นสร้างทางเลือกได้หลายๆ ทางเลือก และถ้าตัดสินใจไปแล้วเกิดการผิดพลาดหรือไม่บรรลุตามเป้าหมายก็ยังสามารถมาทำการตัดสินใจได้โดยขั้นตอนการตัดสินใจอีกจนกว่าจะสำเร็จ 2. ใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบจำลองของระบบ GDSS ซึ่งเป็นระบบที่สามารถสร้างทางเลือกในการตัดสินใจโดยที่ สร้างแบบจำลองบ้านพักทหารตามที่ต้องการ แล้วนำมาทำการวิเคราะห์หรือประชุมหาข้อสรุป ทำการตัดสินใจ(2) องค์ประกอบหลักของระบบสนับสนุนการตัดสินใจเกี่ยวกับบ้านพักทหารมีอะไรบ้างตอบ ฐานข้อมูล Databasc ประกอบด้วยข้อมูลที่สำคัญ 2 ส่วน- Off-Post Data ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะสภาพเศรษฐกิจรอบๆ- On-post Data แหล่งข้อมูลภายในและภายนอกของบ้านพักทหารและฐานทัพ2.2 ฐานแบบจำลอง Model Basc ประกอบด้วยข้อมูลที่สำคัญ 2 ส่วน- Regional Economic Model For the Area เป็นโมเดลที่มีตัวแปรและข้อจำกัดต่างๆเกี่ยวข้องจำนวนมาก เช่น ราคาบ้าน ดัชนีผู้บริโภค รายได้ต่อคน และเงินช่วยเหลือหรือเงินสวัสดิการของทหาร
- Mocificd Schment Housing Market Analysis เป็นโมเดลที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรหลายตัวแปรและข้อมูลที่ใช้มาจาก On-post และ Off-post Data เช่น ส่วนแบ่งตลาดบ้านพัก จำนวนบ้านพักใกล้ฐานทัพที่มีให้กองทัพเช่า ภาษีที่ต้องจ่าย รายได้ต่อครัวเรือน รวมถึงประชากรทั้งหมด
การประยุกต์ใช้ระบบ DSS
ตัวอย่างที่ 1. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจกับกลยุทธ์ในการแข่งขัน
บริษัทไฟร์สโตน (Firestone Rubber & Tire) ในรัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา ได้พัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการออกแบบยางรถยนต์ยี่ห้อใหม่ ระบบช่วยให้นักวิเคราะห์มองเห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างผลทางด้านการเงินในอดีตกับตัวแปรภายนอก เช่น จำนวนรถยนต์ที่ผลิตทั้งหมด ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศแล้วนำมาสร้างโมเดลในการพยากรณ์ขาย
ด้วยโมเดลต่างๆ ที่มีอยู่ในระบบ ช่วยให้นักวิเคราะห์ของบริษัทไฟร์สโตน สามารถสร้างฐานข้อมูลที่บรรจุยางของคู่แข่งทั้งหมด 200 ยี่ห้อ รวมทั้งข้อมูลในการผลฺต แรงกด และปริมาณการขาย ซึ่งผู้บริหารสามารถใช้ข้อมูลในฐานข้อมูลนี้สำหรับการกำหนดกลยุทธ์ในการแข่งขัน ระบบช่วยให้องค์การสามารถนำเอาประเด็นด้านเทคโนโลยีมาผนวกกับด้านการเงินในการตัดสินใจที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และช่วยสนับสนุนให้มีการตัดสินใจร่วมกันของหน่วยงานตามหน้าที่ต่างๆ ในองค์การ
คำถาม
1. ผู้ใช้ระบบคือใคร
ตอบ นักวิเคราะห์ และผู้บริหารของบริษัทไฟร์สโตน
2. ท่านคิดว่าตัวแปรใดบ้างที่ควรอยู่ในโมเดลพยากรณ์การขาย
ตอบ มีอยู่ 2 ตัวแปรด้วยกัน คือ ตัวแปรภายนอก ได้แก่ จำนวนรถยนต์ที่ผลิตทั้งหมด ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ข้อมูลคู่แข่งขัน อัตราดอกเบี้ย จำนวนผู้บริโภค ราคา วัตถุดิบ เป็นต้น และตัวแปรภายใน ได้แก่ ข้อมูลในการผลิต การขาย ข้อมูลการเงิน และประมาณการขาย เป็นต้น
ตัวอย่างที่ 2: ระบบสนับสนุนการตัดสินใจกับการบริหารการจัดส่งสินค้า
บริษัทซาน ไมเกล (San Miguel Corporation) ใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารการส่งสินค้า (Production Load Allocation) เพื่อส่งสินค้ากว่า 300 ชนิด เช่น นม เบียร์ และอื่นๆ โดยส่งไปทั่วหมู่เกาะฟิลิปปินส์ ระบบดังกล่าวช่วยคำนวณความสมดุลระหว่างค่านำส่ง ค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อ กับความถี่ในการนำส่งและปริมาณต่ำสุดในการส่งสินค้า รวมถึงการกำหนดจำนวนสินค้าแต่ละชนิดที่จะผลิตและการนำสินค้านั้นไปเก็บไว้ในคลังสินค้าต่างๆ ระบบนี้ช่วยให้บริษัทกำหนดแผนการผลิตที่เหมาะสมและสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการเก็บสินค้าไว้ในคลังได้ถึง 180000 เหรียญสหรัฐต่อปี
คำถาม
1. จากตัวอย่างข้างต้นไม่มีการกล่าวถึงการใช้โมเดล ท่านคิดว่าระบบบริหารการส่งสินค้า
น่าจะจัดเป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจหรือไม่
ตอบ เป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เพราะระบบที่บริษัทซาน ไมเกล ใช้อยู่เป็นระบบที่ใช้การคำนวณความสมดุลต่างๆ รวมถึงการกำหนดจำนวนสินค้าที่จะผลิต และช่วยให้บริษัทกำหนดแผนการผลิตที่เหมาะสม
2. ข้อมูลใดที่ควรต้องนำมาประกอบการตัดสินใจว่าจะส่งสินค้าแต่ละชนิดไปเก็บไว้ที่คลังสินค้าต่างๆ เมื่อใด และจำนวนเท่าไร
ตอบ ระบบสามารถกำหนดจำนวนสินค้าแต่ละชนิดที่จะผลิตและการนำสินค้านั้นไปเก็บไว้ในคลังสินค้าต่างๆ ช่วยให้บริษัทกำหนดแผนการผลิตที่เหมาะสมและสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการเก็บสินค้าไว้ในคลังได้ถึง 180000 เหรียญสหรัฐต่อปี
บริษัทไฟร์สโตน (Firestone Rubber & Tire) ในรัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา ได้พัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการออกแบบยางรถยนต์ยี่ห้อใหม่ ระบบช่วยให้นักวิเคราะห์มองเห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างผลทางด้านการเงินในอดีตกับตัวแปรภายนอก เช่น จำนวนรถยนต์ที่ผลิตทั้งหมด ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศแล้วนำมาสร้างโมเดลในการพยากรณ์ขาย
ด้วยโมเดลต่างๆ ที่มีอยู่ในระบบ ช่วยให้นักวิเคราะห์ของบริษัทไฟร์สโตน สามารถสร้างฐานข้อมูลที่บรรจุยางของคู่แข่งทั้งหมด 200 ยี่ห้อ รวมทั้งข้อมูลในการผลฺต แรงกด และปริมาณการขาย ซึ่งผู้บริหารสามารถใช้ข้อมูลในฐานข้อมูลนี้สำหรับการกำหนดกลยุทธ์ในการแข่งขัน ระบบช่วยให้องค์การสามารถนำเอาประเด็นด้านเทคโนโลยีมาผนวกกับด้านการเงินในการตัดสินใจที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และช่วยสนับสนุนให้มีการตัดสินใจร่วมกันของหน่วยงานตามหน้าที่ต่างๆ ในองค์การ
คำถาม
1. ผู้ใช้ระบบคือใคร
ตอบ นักวิเคราะห์ และผู้บริหารของบริษัทไฟร์สโตน
2. ท่านคิดว่าตัวแปรใดบ้างที่ควรอยู่ในโมเดลพยากรณ์การขาย
ตอบ มีอยู่ 2 ตัวแปรด้วยกัน คือ ตัวแปรภายนอก ได้แก่ จำนวนรถยนต์ที่ผลิตทั้งหมด ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ข้อมูลคู่แข่งขัน อัตราดอกเบี้ย จำนวนผู้บริโภค ราคา วัตถุดิบ เป็นต้น และตัวแปรภายใน ได้แก่ ข้อมูลในการผลิต การขาย ข้อมูลการเงิน และประมาณการขาย เป็นต้น
ตัวอย่างที่ 2: ระบบสนับสนุนการตัดสินใจกับการบริหารการจัดส่งสินค้า
บริษัทซาน ไมเกล (San Miguel Corporation) ใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารการส่งสินค้า (Production Load Allocation) เพื่อส่งสินค้ากว่า 300 ชนิด เช่น นม เบียร์ และอื่นๆ โดยส่งไปทั่วหมู่เกาะฟิลิปปินส์ ระบบดังกล่าวช่วยคำนวณความสมดุลระหว่างค่านำส่ง ค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อ กับความถี่ในการนำส่งและปริมาณต่ำสุดในการส่งสินค้า รวมถึงการกำหนดจำนวนสินค้าแต่ละชนิดที่จะผลิตและการนำสินค้านั้นไปเก็บไว้ในคลังสินค้าต่างๆ ระบบนี้ช่วยให้บริษัทกำหนดแผนการผลิตที่เหมาะสมและสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการเก็บสินค้าไว้ในคลังได้ถึง 180000 เหรียญสหรัฐต่อปี
คำถาม
1. จากตัวอย่างข้างต้นไม่มีการกล่าวถึงการใช้โมเดล ท่านคิดว่าระบบบริหารการส่งสินค้า
น่าจะจัดเป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจหรือไม่
ตอบ เป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เพราะระบบที่บริษัทซาน ไมเกล ใช้อยู่เป็นระบบที่ใช้การคำนวณความสมดุลต่างๆ รวมถึงการกำหนดจำนวนสินค้าที่จะผลิต และช่วยให้บริษัทกำหนดแผนการผลิตที่เหมาะสม
2. ข้อมูลใดที่ควรต้องนำมาประกอบการตัดสินใจว่าจะส่งสินค้าแต่ละชนิดไปเก็บไว้ที่คลังสินค้าต่างๆ เมื่อใด และจำนวนเท่าไร
ตอบ ระบบสามารถกำหนดจำนวนสินค้าแต่ละชนิดที่จะผลิตและการนำสินค้านั้นไปเก็บไว้ในคลังสินค้าต่างๆ ช่วยให้บริษัทกำหนดแผนการผลิตที่เหมาะสมและสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการเก็บสินค้าไว้ในคลังได้ถึง 180000 เหรียญสหรัฐต่อปี
วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ย่อบทที่ 6
บทที่6
บทบาทของระบบสารสนเทศในองค์
บทนี้จะกล่าวถึงบทบาทของระบบสารสนเทศในองค์การ โดยเริ่มจากองค์การและสิ่งแวดล้อม ผลกระทบของสารสนเทศต่อองค์การ องค์การดิจิทัลและองค์การแบบเครือข่าย จากนั้นจะกล่าวถึงระดับของผู้ใช้ระบบสารสนเทศในองค์การ การแบ่งประเภทของระบบสารสนเทศ ลักษณะของระบบสารสนเทศอิงคอมพิวเตอร์แบบต่างๆ ลักษณะการประมวลผลข้อมูล รวมทั้งความสัมพันธ์ของระบบสารสนเทศแบบต่างๆ ในองค์การ
องค์การและสิ่งแวดล้อม
องค์การตามความหมายทางเทคนิค หมายถึง โครงสร้างทางสังคมอย่างเป็นทางการที่มีความมั่นคง โดยรับเอาทรัพยากรจากสิ่งแวดล้อมมาผ่านกระบวนการเพื่อสร้างหรือผลิตผลลัพธ์ คำจำกัดความด้านเทคนิคนี้จะเน้นองค์ประกอบขององค์การ 3 ส่วน คือ
1.ปัจจัยหลักด้านการผลิต
2.กระบวนการผลิต
3.ผลผลิต
ผลกระทบของระบบสารสนเทศต่อองค์การ
1.ลดระดับขั้นของการจัดการ
2.มีความคล่องตัวในการดำเนินงาน
3.ลดขั้นตอนการดำเนินงาน
4 .เปลี่ยนแปลงกระบวนการจัดการ
5.กำหนดขอบเขตการดำเนินงานใหม่
องค์การดิจิทัลและองค์การแบบเครือข่าย
ระบบอินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วและส่งเสริมการพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ในการสร้างช่องทางการตลาด การขาย และให้การสนับสนุนลูกค้า
เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตสนับสนุนการทำธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการเกิดขึ้นขององค์การแบบเครือข่าย ช่วยให้การแพร่กระจายข่าวสารไปยังบุคคลภายในและภายนอกได้ทันที องค์การสามารถใช้สารสนเทศนี้เพื่อปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจภายในและภายนอกได้
องค์การเสมือนจริง (Virtual Organization)
เป็นรูปแบบขององค์การใหม่ ซึ่งเป็นเครือข่ายขององค์การที่เชื่อมโยงกันด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อแลกเปลี่ยนทักษะ ลดต้นทุน สร้างและกระจายสินค้าและบริการ โดยไม่มีข้อจำกัดของสถานที่ตั้งขององค์การ
ลักษณะขององค์การเสมือนจริงมีดังนี้
1.มีขอบเขตขององค์การไม่ชัดเจน
2.ใช้เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม
3.มีความเป็นเลิศ
4.มีความไว้วางใจ
5.มีโอกาสทางตลาด
ระดับของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ
บุคลากรที่ดำเนินงานในองค์การต่างๆ มีหน้าที่รับผิดชอบแตกต่างกันออกไปตามลักษณะงานที่ได้รับมอบหมาย โดยทั่วไปแล้วการแบ่งประเภทของผู้ใช้ระบบสารสนเทศในองค์การ นิยมแบ่งตาม ระดับของการปฏิบัติงานหรือบริหารจัดการ ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ระดับดังนี้
1.ผู้ปฏิบัติงาน เป็นบุคลากรที่ดำเนินงานด้านการสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้กับบุคลากรฝ่ายต่างๆ
2.ผู้บริหารระดับปฏิบัติการ หรือที่เรียกว่า หัวหน้างาน ผู้บริหารระดับนี้จะทำหน้าที่ควบคุมและดูแลการดำเนินงานประจำวันของบุคลากรระดับปฏิบัติงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
3.ผู้บริหารระดับกลาง เป็นผู้ที่กำกับการบริหารงานของผู้บริหารระดับปฏิบัติการ รวมทั้งวางแผนยุทธวิธีเพื่อให้การดำเนินงานขององค์การบรรลุเป้าหมาย นอกจากนี้ยังต้องทำหน้าที่ประสานงานกับผู้บริหารระดับสูงเพื่อรับนโยบายแล้วนำมาวางแผนการปฏิบัติงาน
4.ผู้บริหารระดับสูง หรือ Executive Managers เป็นผู้ที่รับผิดชอบด้านการวางแผนกลยุทธ์ ในการกำหนดเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ขององค์การ ตลอดจนดูแลองค์การในภาพรวม
ประเภทของระบบสารสนเทศ ที่สำคัญ 3 ประเภท ดังนี้
1.ระบบสารสรเทศจำแนกตามประเภทธุรกิจ
2.ระบบสารสนเทศจำแนกตามหน้าที่ของงาน
3.ระบบสารสนเทศจำแนกตามลักษณะการดำเนินงาน
โดยทั่วไประบบสารสนเทศที่อิงคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 6 ประเภทดังนี้
1.ระบบสารสนเทศประมวลผลธุรกรรม เป็นระบบสารสนเทศประเภทแรกที่นิยมนำมาใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อการประมวลผลที่รวดเร็ว ลดค่าใช้จ่าย และปรับปรุงการให้บริการลูกค้า ระบบนี้ทำหน้าที่รวบรวม บันทึกข้อมูลในแฟ้มข้อมูล หรือฐานข้อมูล และประมวลผลข้อมูลที่เกิดขึ้นจากการทำธุรกรรมและการปฏิบัติงานประจำ ขององค์การเพื่อนำไปจัดทำระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนั้นๆ
2.ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เป็นระบบสารสนเทศที่โดยปกติแล้วจะประมวลผลและสรุปผลจากแฟ้มข้อมูลหรือฐานข้อมูลจาก TPS เพื่อจัดทำสารสนเทศตามความต้องการของผู้บริหารสำหรับนำไปใช้ในการวางแผน ควบคุม กำกับดูแล สั่งการ และประกอบการตัดสินใจ
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการทำรายงานในรูปแบบที่แตกต่างกัน สามารถจำแนกได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
1.รายงานที่จัดทำตามระยะเวลาที่กำหนด
2.รายงานสรุป
3.รายงานที่จัดทำตามเงื่อนไขเฉพาะ
4.รายงานที่จัดทำตามต้องการ
3.ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ลักษณะที่สำคัญของระบบนี้จะต้องเป็นระบบที่ให้สารสนเทศอย่างรวดเร็วต่อการตัดสินใจ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาและกำหนดกลยุทธ์ ดังนั้นระบบจึงควรออกแบบในลักษณะที่โต้ตอบกับผู้ใช้เพื่อสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล
4.ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระบบสูง เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการวิเคราะห์ปัญหา ผู้บริหารสามารถเข้าถึงสารสนเทศโดยกำหนดมุมมองได้ในรูปแบบต่างๆ จึงเป็นระบบที่มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวสูง
5.ปัญญาประดิษฐ์ เป็นความพยายามที่จะพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ ให้สามารถปฏิบัติงานให้เหมือนกับมนุษย์หรือเลียนแบบมนุษย์
6.ระบบสารสนเทศสำนักงาน เป็นระบบสารสนเทศที่นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหาร
ระบบสำนักงานอัตโนมัติสามารถแบ่งได้เป็น 5 ประเภทคือ
1.ระบบจัดการเอกสาร
2.ระบบจัดการข่าวสาร
3.ระบบการทำงานร่วมกัน/ประชุมทางไกล
4.ระบบประมวลภาพ
5.ระบบจัดการสำนักงาน
บทบาทของระบบสารสนเทศในองค์
บทนี้จะกล่าวถึงบทบาทของระบบสารสนเทศในองค์การ โดยเริ่มจากองค์การและสิ่งแวดล้อม ผลกระทบของสารสนเทศต่อองค์การ องค์การดิจิทัลและองค์การแบบเครือข่าย จากนั้นจะกล่าวถึงระดับของผู้ใช้ระบบสารสนเทศในองค์การ การแบ่งประเภทของระบบสารสนเทศ ลักษณะของระบบสารสนเทศอิงคอมพิวเตอร์แบบต่างๆ ลักษณะการประมวลผลข้อมูล รวมทั้งความสัมพันธ์ของระบบสารสนเทศแบบต่างๆ ในองค์การ
องค์การและสิ่งแวดล้อม
องค์การตามความหมายทางเทคนิค หมายถึง โครงสร้างทางสังคมอย่างเป็นทางการที่มีความมั่นคง โดยรับเอาทรัพยากรจากสิ่งแวดล้อมมาผ่านกระบวนการเพื่อสร้างหรือผลิตผลลัพธ์ คำจำกัดความด้านเทคนิคนี้จะเน้นองค์ประกอบขององค์การ 3 ส่วน คือ
1.ปัจจัยหลักด้านการผลิต
2.กระบวนการผลิต
3.ผลผลิต
ผลกระทบของระบบสารสนเทศต่อองค์การ
1.ลดระดับขั้นของการจัดการ
2.มีความคล่องตัวในการดำเนินงาน
3.ลดขั้นตอนการดำเนินงาน
4 .เปลี่ยนแปลงกระบวนการจัดการ
5.กำหนดขอบเขตการดำเนินงานใหม่
องค์การดิจิทัลและองค์การแบบเครือข่าย
ระบบอินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วและส่งเสริมการพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ในการสร้างช่องทางการตลาด การขาย และให้การสนับสนุนลูกค้า
เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตสนับสนุนการทำธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการเกิดขึ้นขององค์การแบบเครือข่าย ช่วยให้การแพร่กระจายข่าวสารไปยังบุคคลภายในและภายนอกได้ทันที องค์การสามารถใช้สารสนเทศนี้เพื่อปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจภายในและภายนอกได้
องค์การเสมือนจริง (Virtual Organization)
เป็นรูปแบบขององค์การใหม่ ซึ่งเป็นเครือข่ายขององค์การที่เชื่อมโยงกันด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อแลกเปลี่ยนทักษะ ลดต้นทุน สร้างและกระจายสินค้าและบริการ โดยไม่มีข้อจำกัดของสถานที่ตั้งขององค์การ
ลักษณะขององค์การเสมือนจริงมีดังนี้
1.มีขอบเขตขององค์การไม่ชัดเจน
2.ใช้เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม
3.มีความเป็นเลิศ
4.มีความไว้วางใจ
5.มีโอกาสทางตลาด
ระดับของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ
บุคลากรที่ดำเนินงานในองค์การต่างๆ มีหน้าที่รับผิดชอบแตกต่างกันออกไปตามลักษณะงานที่ได้รับมอบหมาย โดยทั่วไปแล้วการแบ่งประเภทของผู้ใช้ระบบสารสนเทศในองค์การ นิยมแบ่งตาม ระดับของการปฏิบัติงานหรือบริหารจัดการ ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ระดับดังนี้
1.ผู้ปฏิบัติงาน เป็นบุคลากรที่ดำเนินงานด้านการสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้กับบุคลากรฝ่ายต่างๆ
2.ผู้บริหารระดับปฏิบัติการ หรือที่เรียกว่า หัวหน้างาน ผู้บริหารระดับนี้จะทำหน้าที่ควบคุมและดูแลการดำเนินงานประจำวันของบุคลากรระดับปฏิบัติงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
3.ผู้บริหารระดับกลาง เป็นผู้ที่กำกับการบริหารงานของผู้บริหารระดับปฏิบัติการ รวมทั้งวางแผนยุทธวิธีเพื่อให้การดำเนินงานขององค์การบรรลุเป้าหมาย นอกจากนี้ยังต้องทำหน้าที่ประสานงานกับผู้บริหารระดับสูงเพื่อรับนโยบายแล้วนำมาวางแผนการปฏิบัติงาน
4.ผู้บริหารระดับสูง หรือ Executive Managers เป็นผู้ที่รับผิดชอบด้านการวางแผนกลยุทธ์ ในการกำหนดเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ขององค์การ ตลอดจนดูแลองค์การในภาพรวม
ประเภทของระบบสารสนเทศ ที่สำคัญ 3 ประเภท ดังนี้
1.ระบบสารสรเทศจำแนกตามประเภทธุรกิจ
2.ระบบสารสนเทศจำแนกตามหน้าที่ของงาน
3.ระบบสารสนเทศจำแนกตามลักษณะการดำเนินงาน
โดยทั่วไประบบสารสนเทศที่อิงคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 6 ประเภทดังนี้
1.ระบบสารสนเทศประมวลผลธุรกรรม เป็นระบบสารสนเทศประเภทแรกที่นิยมนำมาใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อการประมวลผลที่รวดเร็ว ลดค่าใช้จ่าย และปรับปรุงการให้บริการลูกค้า ระบบนี้ทำหน้าที่รวบรวม บันทึกข้อมูลในแฟ้มข้อมูล หรือฐานข้อมูล และประมวลผลข้อมูลที่เกิดขึ้นจากการทำธุรกรรมและการปฏิบัติงานประจำ ขององค์การเพื่อนำไปจัดทำระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนั้นๆ
2.ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เป็นระบบสารสนเทศที่โดยปกติแล้วจะประมวลผลและสรุปผลจากแฟ้มข้อมูลหรือฐานข้อมูลจาก TPS เพื่อจัดทำสารสนเทศตามความต้องการของผู้บริหารสำหรับนำไปใช้ในการวางแผน ควบคุม กำกับดูแล สั่งการ และประกอบการตัดสินใจ
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการทำรายงานในรูปแบบที่แตกต่างกัน สามารถจำแนกได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
1.รายงานที่จัดทำตามระยะเวลาที่กำหนด
2.รายงานสรุป
3.รายงานที่จัดทำตามเงื่อนไขเฉพาะ
4.รายงานที่จัดทำตามต้องการ
3.ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ลักษณะที่สำคัญของระบบนี้จะต้องเป็นระบบที่ให้สารสนเทศอย่างรวดเร็วต่อการตัดสินใจ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาและกำหนดกลยุทธ์ ดังนั้นระบบจึงควรออกแบบในลักษณะที่โต้ตอบกับผู้ใช้เพื่อสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล
4.ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระบบสูง เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการวิเคราะห์ปัญหา ผู้บริหารสามารถเข้าถึงสารสนเทศโดยกำหนดมุมมองได้ในรูปแบบต่างๆ จึงเป็นระบบที่มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวสูง
5.ปัญญาประดิษฐ์ เป็นความพยายามที่จะพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ ให้สามารถปฏิบัติงานให้เหมือนกับมนุษย์หรือเลียนแบบมนุษย์
6.ระบบสารสนเทศสำนักงาน เป็นระบบสารสนเทศที่นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหาร
ระบบสำนักงานอัตโนมัติสามารถแบ่งได้เป็น 5 ประเภทคือ
1.ระบบจัดการเอกสาร
2.ระบบจัดการข่าวสาร
3.ระบบการทำงานร่วมกัน/ประชุมทางไกล
4.ระบบประมวลภาพ
5.ระบบจัดการสำนักงาน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)