บทที่ 11 ระบบการวางแผนทรัพยากรองค์การ
วิวัฒนาการของระบบ ERP
ช่วงต้นทศวรรษที่ 1960 วงการอุตสาหกรรมได้นำระบบการวางแผนความต้องการวัตถุ หรือที่เรียกว่า MRP ( Material Requirements Planning ) มาช่วยสนับสนุนการดำเนินงานเกี่ยวกับการหารายการและจำนวนวัสดุที่ต้องการตามแผนการผลิตที่วางไว้ และนำมาช่วยด้านการบริหารการผลิต ซึ่งระบบ MRP ได้รับการยอมรับว่าสามารถช่วยลดระดับวัสดุคงคลังให้ต่ำลง
กระบวนการทางธุรกิจที่สนับสนุนโดยระบบ ERP
ERP เป็นแอปพลิเคชันที่ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในองค์การ ระบบ ERP ช่วยในการจัดกระบวนการทางธุรกิจ ( Business Process) ทั้งหมดในองค์การไม่ว่าจะเป็นกระบวนการผลิตสินค้า กระบวนการฝ่ายการเงิน กระบวนการขายและการตลาด เพื่อให้กระบวนการทำงานภายในองค์การเป็นไปโดยอัตโนมัติ
ประโยชน์และความท้าทาของระบบ ERP
กระบวนการบริหาร ระบบ ERP นอกจากจะช่วยให้กระบวนการทางธุรกิจเป็นไปโดยอัตโนมัติแล้ว ระบบยังสามารถรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ให้กับผู้บริหารได้เที่ยงตรงและปัจจุบัน ช่วยให้ผู้บริหารรับทราบข้อมูลทางการเงินซึ่งอาจอยู่ในหลายรูปแบบให้เป็นหนึ่งเดียวกันโดยการใช้ระบบเดียวกัน
เทคโนโลยีพื้นฐาน ระบบ ERP ช่วยเชื่อมโยงระบบงานต่าง ๆ ที่กระจัดกระจ่ายเข้าด้วยกันเสมือนเป็นระบบเดียวกันทั้งองค์การ ข้อมูลจากส่วนต่าง ๆ ขององค์การจะถูกจัดเก็บไว้ที่ข้อมูลส่วนกลางรวมกันมีมาตรฐานเดียวกัน
กระบวนการทำงานที่รวดเร็ว สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทำงานสามารถติดตามความก้าวหน้าของงานได้ผ่านระบบเดียวกันทำให้การติดสินใจในด้านต่าง ๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ความท้าทาย
การเปลี่ยนแปลงกระบวนการดำเนินธุรกิจและวัฒนธรรมการทำงานภายในองค์การ ผู้ใช้อาจต้อง ปรับขั้นตอนหรือเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานให้เหมาะสมหรือไม่เป็นไปตามความสามารถของซอฟต์แวร์ ความท้าทายก็คือการค้นหาว่าขั้นตอนการทำงานใดที่สมควรจะต้องได้รับการปรับเปลี่ยนและจะทำการเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับ ERP
การบริหารโครงการระบบสารสนเทศขนาดใหญ่และค่าใช้จ่ายในตอนเริ่มต้นที่สูง การพัฒนาระบบ ERP จะมีค้าใช้จ่ายสูงในตอนเริ่มต้นแต่อาจจะยังไม่ได้รับหรือปกระเมินประโยชน์ได้อย่างชัดเจน จนกว่าจะมีการนำระบบไปใช้ซึ่งประโยชน์จะค่อย ๆ เพิ่มขึ้น
ความไม่ยึดหยุ่นในการปรับซอฟต์แวร์ ระบบ ERP เป็นระบบที่มีความซับซ้อนต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการติดตั้ง ดูแลและบำรุงรักษาได้ระบบการพัฒนาบนพื้นฐานของวิธีการปฏิบัติที่ดีที่สุดหรือเรียกว่า Best Practice
ขั้นตอนการนำระบบ ERP มาใช้ในองค์การ
1. การศึกษาและวางแผนแนวคิด มาใช้ในองค์การเป็นขั้นตอนที่ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานต้องมีการเตรียมการในระดับหนึ่ง
2. การวางแผนนำมาระบบมาใช้ ซึ่งจะมีการจัดตั้งคณะกรรมการ ขึ้นมาชุดหนึ่ง ซึ่ง๕ระกรรมการชุดนี้จะมาได้มาทำงานโดยตรงแต่ละจะหน้าที่ในการกำกับดูแล้วให้การคัดเลือกระบบ ERP เป็นไปในทิศทางที่ต้องการ
3. การพัฒนาระบบ ขั้นตอนที่ลงในรายละเอียดของการพัฒนาที่เหมาะสมกับองค์การ ซึ่งประกอบไปด้วยการวางแผนโครงสร้างการพัฒนาอย่างละเอียด
4. การใช้งานและปรับเพิ่มความสามารถ จำเป็นต้องมีการฝึกอบรมและให้การสนับสนุนบุคลากรในการใช้ระบบ
โครงสร้างของซอฟต์แวร์ ERP
1. ซอฟท์แวร์โมดูล ( Business Application Software Moudle) ได้แก่โมดูลที่ทำหน้าที่ในงานหลักขององค์การ
2. ฐานข้อมูลรวม ( Integrated Databaese) ซอฟต์แวร์โมดูลสามารถเข้าถึง ( Acess) ฐานข้อมูลได้โดยตรงและสามารถใช้ข้อมูลในฐานข้อมูลร่วมกันได้
3. ระบบสนับสนุนการบริหารการจัดการ ( System Administration Utility) เป็นส่วนที่สนับสนุนการบริหารการจัดการระบบ
4. ระบบสนับสนุนการพัฒนาและการปรับเปลี่ยน ( Development and Customization Utility) เป็นส่วนที่สนับสนุนหรือการปรับเปลี่ยนบางงานให้เข้ากับการทำงานขององค์การ
ปัจจัยในการพิจารณาการตัดสินใจเลือกซอฟท์แวร์ ERP
1. พิจารณาว่าจะใช้ซอฟท์แวร์สำเร็จรูปหรือไม่
2. ฟังก์ชันของ ERP สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และความต้องการในการนำมาใช้งานขององค์การ
3. ความยืดหยุ่นในการปรับแก้ซอฟต์แวร์
4. ต้นทุนในการเป็นเจ้าของระบบ ERP ( Cost of Ownership)
5. การบำรุงรักษาระบบ
6. รองรับการทำงานหรือเทคโนโลยีในอนาคต
7. ความสามารถของผู้ขาย (Vendor) ซอฟท์แวร์
ซอฟท์แวร์ ERP ในท้องตลาด
ERP ที่มีในท้องตลาดมีหลายรายด้วยกัน เช่น
* IFS Applications * MFG/PRO * SSA Baan ERP 5
*MYSAP ERP * CONTROL * Oracle
* Peoplesoft * J.D.Edwareds * Bann
กลุ่มที่ถือว่าเป็นผู้นำตลาด คือ SAP , Oracle , Peoplesoft , Bann และ J.D.Edwareds
การขยายขีดความสามารถของระบบ ERP และระบบเครือข่ายอุตสาหกรรม
ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและสื่อสาร เช่น อินเทอร์เน็ต ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้อย่างง่ายดาย รวมถึงความจำเป็นในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาแวดล้อมอย่างรวดเร็วและเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
Extended ERP ส่งผลให้เกิดการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายอุตสาหกรรม ( Industrial Network)
ซึ่งเชื่อมโยงห่วงโซ่คุณค่าทั้งภายในและภายนอกองค์การ ลักษณะเชื่อมโยง Extended ERP ที่
เด่นชัด คือมีการขยายฟังก์ชันการทำงานของ ERP ให้มีการบูรณาการกับซอฟท์แวร์อื่น ๆ ระบบการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า ( CRM) การบริหารห่วงโซ่อุปทาน ( SCM ) หรือการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ( E-Commerce) ฯลฯ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น